จุดเด่น

เจดีย์ชัยมงคล


    อนุสรณ์แห่งชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงรบชนะ มังกะยอชวาพระมหาอุปราชของหงษาวดี ที่ต.หนองสาหร่าย จ.สุพรรณบุรีในครั้งนั้นพม่าได้ยกทัพเข้ามาในขอบขันฑสีมา สมเด็จพระนเรศวรฯ และสมเด็จพระเอกาทศรถผู้เป็นพระอนุชาจึงได้นำทัพไปรับศึก และได้ขับช้างเข้าไปอยู่ในวงล้อมของข้าศึกที่คอยระดมยิงปืนเข้าใส่พระและพระคชาธาร โดยที่เหล่าแม่ทัพนายกองวิ่งตามพะรองค์มาไม่ทัน พระองค์จึงประกาศด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ไยในร่มไม้เล่าเชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีกษัตริย์ ที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว พระอุปราชของพม่าจึงไสยช้างออกมากระยุทธถีด้วยกันในการทำยุทธหัตถีครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงใช้พระแสงพลผ่ายฟาดฟันพระอุปราชขาดตะพายแล่งเมื่อกลับมาสู่พระนครแล้ว พระองค์ก็จะลงโทษเหล่าทหารที่ตามพระไปไม่ทันตอนกระทำศึกยุทธหัตถี ซึ่งมากฏระะเบียบแล้วต้องโทษถึงขึ้นประหารชีวิต ช่วงเวลาที่รออาญา



สมเด็จพระพันรัตน พระสังฆราชพร้อมด้วยพระสงฆ์ 25 รูปได้ขอให้พระนเรศวรพระราชทานอภัยยกเว้นโทษให้กับทหารเหล่านั้น โดยให้เหตุผลว่าพระองค์เปรียบดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แวดล้อมด้วยหมู่มารก่อนที่จะตรัสรู้ เป็นการประกาศเกียรติและบารมีความกล้าหาญและเก่งกาจของพระองค์ให้ขจรกระจายไปทั่วแคว้นทั่วแผ่นดิน
สมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะและความมีน้ำพระทัยของพระองค์ ที่มีต่อเหล่าทหารเหล่านั้น และพระะราชทานนามว่า “เจดีย์ชัยมงคล”
พระอุโบสถ
เดิมสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติกรรมฐานรวมทั้งประกอบพิธีกรรมต่างๆ พระอุโบสถหลังนี้เคยถูกใช้เป็นสถานนัดพบของเหล่าขุนนาง นำโดยขุนพิเรนทร์เทพ และพรรคพวก ซึ่งมาเสี่ยงเทียนเพื่อจะเป็นนิมิตหมายในการไปปราบขุนวรวงค์ษา และท้าวศรีสุดาจันทร์ วิธีการเสี่ยงเทียนคือการฟั่นเทียนขึ้นมา 2 เล่ม เล่มหนึ่ง
แทนตัวขุนวรวงค์ษา กษัตริย์ที่นักวิชาการหลายท่านไม่นับรวมว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์อยุธยา เทียนอีกเล่มหนึ่งแทนตัวพระเฑียรราชา หน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์อันหลบหลีกปัญหาการแย่งชิงบัลลังค์ และไปบวชอยู่ที่วัดราชประดิษฐาน และจุดเทียนขึ้นพร้อมกัน แต่เทียนเล่มที่เป็นตัวแทนของขุนวรวงค์ษามีเหตุให้ดับลงก่อน จึงถือว่าการล้มล้างจะเป็นผลสำเร็จ
ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญหลายองค์ ส่วนที่เป็นองค์ประธานเป็นพระพุทธรูป ซึ่งมีลักษณะเด่นจากที่อื่น คือปั้นด้วยหินทรายตลอดทั้งองค์ ส่วนที่เป็นจีวรถูกลงรัก
ปิดทองประดับแก้ว ส่วนที่ไม่ใช่จีวรนั้นว่างเว้นเห็นเป็นเนื้อหินทรายที่สวยงามสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ลักษณะเป็นปางมารวิชัย หรือปางสดุ้งมาร


พระอุโบสถ
เดิมสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติกรรมฐานรวมทั้งประกอบพิธีกรรมต่างๆ
พระอุโบสถหลังนี้เคยถูกใช้เป็นสถานนัดพบของเหล่าขุนนาง นำโดยขุนพิเรนทร์เทพและพรรคพวก ซึ่งมาเสี่ยงเทียนเพื่อจะเป็นนิมิตหมายในการไปปราบขุนวรวงค์ษาและท้าวศรีสุดาจันทร์ วิธีการเสี่ยงเทียนคือการฟั่นเทียนขึ้นมา 2 เล่ม เล่มหนึ่งแทนตัวขุนวรวงค์ษา กษัตริย์ที่นักวิชาการหลายท่านไม่นับรวมว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์อยุธยาเทียนอีกเล่มหนึ่งแทนตัวพระเฑียรราชา หน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์อันหลบหลีกปัญหาการแย่งชิงบัลลังค์ และไปบวชอยู่ที่วัดราชประดิษฐาน และจุดเทียนขึ้นพร้อมกันแต่เทียนเล่มที่เป็นตัวแทนของขุนวรวงค์ษามีเหตุให้ดับลงก่อนจึงถือว่าการล้มล้างจะเป็นผลสำเร็จ
ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญหลายองค์ ส่วนที่เป็นองค์ประธานเป็นพระพุทธรูปซึ่งมีลักษณะเด่นจากที่อื่น คือปั้นด้วยหินทรายตลอดทั้งองค์ ส่วนที่เป็นจีวรถูกลงรักปิดทองประดับแก้ว ส่วนที่ไม่ใช่จีวรนั้นว่างเว้นเห็นเป็นเนื้อหินทรายที่สวยงามสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ลักษณะเป็นปางมารวิชัย หรือปางสดุ้งมาร

วิหารพระพุทธไสยาสน์
เมื่อเดินผ่านประตูทางเข้าด้านในก็จะพบวิหารพระพุทธไสยาสน์อยู่ทางซ้ายมือภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ซึ่งสร้างขึ้นในแผ่นดินของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเพื่อใช้เป็นที่สักการะบูชา และปฏิบัติพระกรรมฐาน พระพุทธรูปองค์นี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ในปี พ.ศ.2508



รูปแบบอาคารเป็นลักษณะวิหาร สันนิษฐานว่ามีประตูทางเข้าอยู่ 2 ช่องทางด้านทิศเหนือ(ปัจจุบันได้สูญสิ้นหมดแล้ว) ภายในอาคารมีหน้าต่างสี่เหลี่ยมเพียง 4 บาน เสาของอาคารเป็นลักษณะกลมปรากฏร่องรอยบัวหัวเสาที่ประดับอยู่บนยอด องค์พระประธานของวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออกอันเป็นด้านหน้าของวัด ภายหลังได้รับการปฏิสังขรณ์
นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูปจากมุมนี้ออกไปสู่วิวด้านหลัง ที่เห็นเป็นองค์เจดีย์ชัยมงคลซึ่งตั้งตะหง่านอยู่อย่างยิ่งใหญ่ เดินต่อไปตามทางเดินก็จะพบศาลเจ้าพ่อสิทธิชัยซึ่งตั้งอยู่ทางซ้ายมือ








การเดินทาง
หากเดินทางมาจากรุงเทพโดยใช้ถนนสายเอเชีย(ทางหลวงหมายเลข 32)เลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกเข้าอยุธยา ตรงเข้ามาจะพบวงเวียนเจดีย็วัดสามปลื้ม ให้เลี้ยวซ้ายไปอีก 1.5 กม. วัดใหญ่ชัยมงคล จะอยู่ทางซ้ายมือ


เอกสารอ้างอิง
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์.  พื้นฝอยหาตะเข็บ.  กรุงเทพมหานคร : มติชน, 2553. 
ศักดิ์ชัย สายสิ่งห์ และคณะ.  ประมวลผลงานด้านประวัติศาสตร์ศิลปะของศาสตรจารย์ ดร.สันติ เล็ก
       สุขุม.  กรุงเทพมหานคร : เอราวัณการพิมพ์, 2554.  
Dekguide WeTravel.  "วัดใหญ่ชัยมงคล-อยุธยา".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :                
       dekguide.com/วัดใหญ่ชัยมงคล-อยุธยา. (วันที่ค้นหาข้อมูล : 17 ตุลาคม 2559).
อ่านต่อได้ที่
https://watboran.wordpress.com/category/%E0%B9%90%E0%B9%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5/

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น